“ร้านขายยา” เป็นธุรกิจที่เรามักจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเจ็บป่วย หรือเป็นไข้เล็กๆ น้อยๆ ร้านขายยามักจะเป็นทางเลือกแรกก่อนไปโรงพยาบาลเสมอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธุรกิจร้านขายยามีรายรับ และรายจ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการท่านใด ที่สนใจอยากลงทุนเปิดร้านขายยา แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นยังไง บทความนี้ นรินทร์ทอง เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนทำ บัญชีร้านขายยา มาให้ทุกคนได้ศึกษาก่อนเริ่มลงทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นแนวทางให้คุณสามารถขยายฐานของธุรกิจ ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิดข้อผิดพลาด
บัญชียาตามเงื่อนไขใบอนุญาตขายยา
- บัญชีการขายยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.7)
- บัญชีการขายยาอันตราย เฉพาะรายการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด (ข.ย.7)
- บัญชีการขายยาตามใบสั่งยา ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ (ข.ย.9) (ทุกรายการ)
- จัดทำรายงานการขายยา ตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด (ข.ย.8) โดยให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี
ทั้งนี้หากเจ้าของร้านขายยาผู้รับอนุญาต ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. หรือกฎกระทรวง เช่น ไม่ระบุเลขที่การผลิตของยา, ไม่ระบุวันที่ขายยา, ไม่ลงลายมือชื่อเภสัชกร หรือลงบัญชีซื้อยาไม่ครบ คณะกรรมการยามีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ไม่เกินครั้งละ 120 วัน หรือกรณีมีการฟ้องผู้รับอนุญาตต่อศาลว่าทำผิดตาม พ.ร.บ.ยา อาจสั่งพักใบอนุญาตไว้รอคำพิพากษาอันถึงที่สุด
การวางแผนทำ บัญชีร้านขายยา
การทำธุรกิจเปิดร้านขายยา ต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากตลาดสุขภาพในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการวางแผนทำบัญชีก่อนเปิดร้านขายยา จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ประสบความสำเร็จ ในนามนิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชีตามกฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยการวางแผนทำบัญชีร้านขายยาในนามนิติบุคคล จะมีวิธีการเตรียมตัว ดังนี้
- ต้องจัดทำบัญชีให้ครบถ้วน ตามมาตรฐานการบัญชี
- บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย บัญชีรายวันทั่วไป
- บัญชีแยกประเภท ได้แก่ บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย บัญชีแยกประเภทลูกหนี้ บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
- บัญชีสินค้า
- บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ
- จัดให้มีผู้ทำบัญชี
- ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชี ได้แก่ บันทึกหนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี
- ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่เริ่มทำบัญชี และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่ปิดบัญชีครั้งแรก
- จัดทำงบการเงิน และจัดให้มีผู้สอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีจะมีหน้าที่ตรวจสอบ และแสดงความเห็นในงบการเงิน แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีผู้สอบบัญชีภาษีอากรตรวจสอบและรับรองบัญชี
- จัดนำส่งงบการเงิน ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
- ต้องเก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชี ที่สำนักงานใหญ่ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันปิดบัญชี
ต้นทุน ของร้านขายยา
หลังจากที่ได้ทราบถึงขั้นตอนการวางแผนทำบัญชีร้านขายยากันไปแล้ว ในส่วนนี้เรามาดู ต้นทุนของร้านขายยากันบ้าง โดยต้นทุนที่ต้องใช้ก่อนเริ่มเปิดธุรกิจร้านขายยา จะมีตั้งแต่
- ค่าอุปกรณ์ เช่น ตู้อะลูมิเนียม, ตู้กระจก, เคาน์เตอร์ ป้ายไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ
- ค่ายา ค่าอาหารเสริม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการให้บริการลูกค้า
- ค่าเช่าร้าน โดยทั่วไปประมาณ ขนาด 1-2 คูหา (ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง ของแต่ละสถานที่)
- ค่าจ้างเภสัชกร และพนักงานประจำร้าน
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
นอกเหนือจากที่กล่าวมาก็จะมีค่าต้นทุนอื่นๆ ด้วย เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ร้านยา, ค่าโฆษณา, ค่าซองยา, ค่าถุงใส่ยา และวัสดุอุปกรณ์สำหรับขายยา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกลงทุนมากน้อยแค่ไหน
รายได้ ร้านขายยา
ในส่วนของ รายได้ร้านขายยา จะมาจากการขายยา และสินค้าภายในร้านเป็นหลัก โดยยาแต่ละกลุ่มจะได้กำไรไม่เท่ากัน โดยรายได้ของร้านขายยา หลักๆ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- รายได้หลัก ประกอบด้วย การขายยา, ค่าส่งเสริมการขาย และค่าบริการคัดกรองความเสี่ยง (ถ้ามี)
- รายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ย และอื่นๆ
ทั้งนี้หากพูดถึงในส่วนของรายได้หลัก นอกจากร้านขายยาจะได้รายได้หลักมาจากการขายยาแล้ว ร้านขายยายังสามารถสร้าง รายได้เสริม จากการขายสินค้าประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์, ยาสามัญประจำบ้าน (OTC), วิตามินและ อาหารเสริม, สินค้าเสริมความงาม และสินค้าเกี่ยวกับเด็กอ่อน เป็นต้น
ค่าใช้จ่าย ร้านขายยา
สำหรับค่าใช้จ่ายหลังจากที่เปิดร้านขายยาแล้ว จะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วย เงินเดือน, ค่าเช่า, ค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้า, ค่าโทรศัพท์, ค่าใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (Licensed Pharmacy), ค่าทำบัญชี, ค่าสอบบัญชี, ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน และอื่นๆ ทั้งนี้ค่าตอบแทนเภสัชกร อาจจะมีส่วนอื่นๆ แยกย่อยออกไปอีก ขึ้นอยู่กับสวัสดิการของแต่ละร้าน เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา, ค่า Commission, เบี้ยขยัน, ประกันสังคม หรือประกันชีวิต เป็นต้น
ในกรณีขอยาควบคุม และ ยาอันตราย
กรณียาควบคุม หรือ ยาอันตราย ต้องให้เภสัชกรเป็นผู้บันทึกรายการ ซึ่งจะต้องบันทึกจำนวนยา และบันทึกบัญชีพร้อมลงลายมือกำกับด้วยตนเอง และต้องสังเกตรายละเอียดของยาแต่ละตัวให้ดี เช่น ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม, ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม, ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน ตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ 11 ตัวยา ได้แก่ (1) Brompheniramine (2) Carbinoxamine (3) Chlorpheniramine (4) Cyproheptadine (5) Dexchlorpheniramine (6) Dimenhydrinate (7) Diphenhydramine (8) Doxylamine (9) Hydroxyzine (10) Promethazine (11) Triprolidine วิธีสังเกตยาที่กำหนดให้เป็น “ยาอันตราย” เบื้องต้นให้ดูที่แผง กล่อง หรือภาชนะบรรจุว่ามีคำว่า “ยาอันตราย” หรือไม่ หากยาที่ผู้บริโภคซื้อมีตัวยาเหล่านี้ ควรให้เภสัชกรเป็นผู้บันทึกรายการ และจำหน่ายโดยเภสัชกรอย่างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
ร้านขายยา กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สำหรับกิจการร้านขายยา ที่มีรายรับจากการขายสินค้า หรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายรับเกิน และนำส่งให้กรมสรรพากรทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่น จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หลังจากนั้นเมื่อมีการขายยา ทางร้านต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการทุกครั้ง แต่ในกรณีที่เป็นร้านขายยาค้าปลีก สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ และต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานสินค้า และวัตถุดิบ พร้อมนำส่งภาษี 7% (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากรทุกวันที่ 15 ของเดือน
เตรียมพร้อมก่อนเปิดร้านขายยา ให้ นรินทร์ทอง ช่วยวางแผนทำบัญชี
สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นว่า การทำ บัญชีร้านขายยา ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดอย่างมาก และเป็นข้อบังคับใช้ตามที่กฎหมายกำหนด หากดำเนินการไม่ถูกต้อง อาจทำให้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะฉะนั้นหากใครที่กำลังวางแผนเปิดร้านขายยาเป็นของตัวเอง ควรศึกษาภาษีร้านขายยาตามที่กล่าวมาในข้างต้นให้ละเอียดถี่ถ้วน และไม่ลืมเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบย้อนหลัง
แต่ถ้าใครที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการทำบัญชี หรือต้องการผู้ช่วยที่ทำให้การยื่นบัญชีและภาษี ในธุรกิจของคุณให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339