การเป็นผู้ประกอบการที่ต้องจดทะเบียนบริษัท ควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้น, ผู้บริหารบริษัท หรือกรรมการบริษัท เป็นต้น ซึ่งแต่ละตำแหน่งก็จะมีบทบาท และหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป โดยเกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของบริษัท รวมถึงผู้ที่มีหน้าที่ทำงานด้านบริหาร สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า กรรมการบริษัท คือ อะไร?
ทางเราจึงอยากพาคุณมาทำความเข้าใจกับกรรมการบริษัทมากยิ่งขึ้น ว่ามีหน้าที่การทำงานอะไรบ้าง, ควรมีกรรมการทั้งหมดกี่คน และจำเป็นหรือไม่ที่กรรมการต้องเป็นผู้ถือหุ้น คุณต้องไม่พลาดกับบทความนี้จาก นรินทร์ทอง !
กรรมการบริษัท คือ
หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับตำแหน่งภายในบริษัท เช่น กรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการ กรรมการอิสระ หรือกรรมการบริหาร จนอาจทำให้เกิดความสับสนว่าแต่ละตำแหน่งมีความแตกต่างกันอย่างไร
โดยความหมายของกรรมการบริษัท ในแบบที่เข้าใจได้ง่าย คือ บุคคลที่ดูแลการดำเนินงานของบริษัท, สร้างกลยุทธ์ และจัดการโครงสร้างองค์กร เป็นต้น โดยมีบทบาทที่ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุดกับผู้ถือหุ้น
แต่ในทางของกฎหมายจะรู้จักเพียงแค่ 2 ตำแหน่ง คือ ‘ประธานกรรมการ’ และ ‘กรรมการ’ นอกเหนือจากนี้ในตำแหน่งอื่นๆ ที่คุณอาจเคยได้ยิน ทางกฎหมายจะไม่รู้จัก เพราะไม่ได้มีระบุเอาไว้
- ประธานกรรมการ จะมีบทบาทและหน้าที่ ที่ค่อนข้างจำกัดตามกฎหมาย ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่ในการบริหารบริษัทโดยตรง แต่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ และเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเท่านั้น
- กรรมการ เป็นคนที่ทางบริษัทได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ว่าบุคคลนั้นเป็นกรรมการบริษัท ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น และต้องดำเนินกิจการในฐานะของตัวแทนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ในปัจจุบันบางคนเข้าใจว่า ตำแหน่งของกรรมการมีอำนาจสูง แต่ตามกฎหมายกรรมการเป็นรองต่อจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพราะทางที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจะมีอำนาจเหนือกรรมการ เพื่อดูว่ากิจการที่กรรมการได้ดำเนินอยู่ ถูกต้องตามข้อบังคับที่ได้ตกลงกันเอาไว้หรือไม่
หน้าที่ของกรรมการบริษัทมีอะไรบ้าง?
ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนบริษัท ในธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จะต้องมีการจัดตั้งกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริษัท เพราะการดำเนินธุรกิจส่งผลให้คุณต้องรับมือกับการทำงานในหลายด้านมากเกินไป จนอาจทำให้เกิดปัญหาในการบริหารได้
จึงทำให้หน้าที่การทำงานของกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริษัท เป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น, ช่วยป้องกันปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้น และมีหน้าที่ในการตัดสินใจด้านต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ทำให้คุณได้รับกำไรเป็นผลตอบแทนอย่างแน่นอน
หากต้องระบุให้เข้าใจเลยว่า หน้าที่การทำงานของกรรมการบริษัทมีอะไร จะไม่สามารถตอบได้โดยตรง เพราะแต่ละบริษัทต้องทำการประชุม เพื่อสรุปว่ามีหน้าที่อะไรบ้างที่กรรมการจะต้องรับผิดชอบ จึงทำให้หน้าที่ของกรรมการแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน
กรรมการบริษัทมีได้กี่คน?
บริษัทจำกัด
ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนบริษัทจำกัด จะต้องมีการจัดตั้งกรรมการ 1 คนขึ้นไป และไม่มีข้อบังคับว่าควรไม่เกินกี่คน เพราะขึ้นอยู่กับการประชุมของผู้ถือหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 ได้ระบุเอาไว้ว่า “บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง”
บริษัทมหาชน
การจดทะเบียนบริษัทมหาชน ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 5 คนขึ้นไป และมีสูงสุดกี่คนก็ได้ เป็นแบบเดียวกันกับบริษัทจำกัด เพราะในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 67 ก็กำหนดไว้ว่า “บริษัทต้องมีกรรมการคณะหนึ่งเพื่อดำเนินกิจการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยห้าคน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร”
จำเป็นหรือไม่ที่กรรมการต้องเป็นผู้ถือหุ้น?
กรรมการบริษัทไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นเสมอไป เพราะการแต่งตั้งกรรมการจะขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้น หากมีการประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว สามารถเลือกได้ว่าจะนำผู้ถือหุ้นมาเป็นกรรมการของบริษัท หรือแต่งตั้งบุคคลภายนอกมาเป็นกรรมการก็ได้เช่นกัน
แต่ถ้าหากทางบริษัทมีข้อบังคับ ที่กำหนดเอาไว้ว่ากรรมการจะต้องเป็นผู้ถือหุ้น ทางผู้ก่อตั้งหรือผู้ถือหุ้นก็ต้องดำรงในตำแหน่งกรรมการบริษัท
หากจดทะเบียนบริษัทต้องระบุถึงกรรมการหรือไม่?
การจดทะเบียนบริษัทต้องมีการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการจัดตั้งบริษัท ช่วยให้บริษัทของคุณก่อตั้งได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเอกสารที่เตรียมต้องมีรายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.) ร่วมด้วย โดยมีข้อมูลที่คุณจะต้องกรอก คือ
- ชื่อ – นามสกุล
- อายุ
- สัญชาติ
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ที่อยู่
- หมายเลขโทรศัพท์
หลังจากที่คุณได้ทำการกรอกรายละเอียดของกรรมการ ในแบบ ก. เรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการทุกคน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน, บัตรประจำตัวข้าราชการ และบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ เป็นต้น
>>สามารถดู เอกสารรายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.) เพิ่มเติมได้ที่นี่<<<
หากคุณเป็นผู้ประกอบการ ที่ต้องการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมการบริษัทให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้รู้ว่าหน้าที่ของกรรมการมาจากมติของผู้ถือหุ้น โดยจำนวนของกรรมการก็ขึ้นอยู่ประเภทของบริษัทที่จด และไม่จำเป็นเสมอไปที่กรรมการจะต้องเป็นผู้ถือหุ้น
สำหรับใครที่กำลังจดทะเบียนบริษัท แต่ติดปัญหาในเรื่องของเอกสาร เพราะมีเอกสารตั้งมากมายที่ไม่เข้าใจ แต่ต้องเตรียมเพื่อส่งจดทะเบียนบริษัท จนทำให้การดำเนินงานล่าช้า ทาง นรินทร์ทอง สามารถช่วยคุณได้!
อยากจดทะเบียนบริษัท ติดต่อที่ นรินทร์ทอง !
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
นรินทร์ทองอยากให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด
และรู้ทุกการเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339