ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ คำนวณอย่างไร?

ใครที่กำลังเตรียมตัวเป็นเจ้าของธุรกิจหรือกิจการที่มีการจดทะเบียนบริษัท นอกจากเรื่องของการเติบโตทางธุรกิจแล้ว ยังมีเรื่องการเสียภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย โดยเฉพาะ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่คุณต้องมีการวางแผนทางด้านการเงิน เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาได้ในอนาคตกับทางกรมสรรพากร

ทาง นรินทร์ทอง จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คุณควรรู้ ว่ามีความแตกต่างกับบุคคลธรรมดาอย่างไร ช่วงที่ต้องเสียภาษีคือตอนไหน รวมถึงวิธีการคำนวณเอาไว้ในบทความนี้!

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร?

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การดำเนินธุรกิจมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ ‘บุคคลธรรมดา’ และ ‘นิติบุคคล’ ทั้งคู่ต่างมีการจัดทำบัญชีเพื่อช่วยให้เรารู้ว่ามีจำนวนเงินเข้า-ออกเท่าไหร่ และเรื่องของอัตราการเสียภาษีอีกด้วย จึงทำให้การเสียภาษีมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นการเก็บภาษีจากบุคคลทั่วไป และมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด โดยการเสียภาษีใน 1 ปี จะมี 2 ครั้ง ที่ต้องนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร คือ เสียภาษีกลางปีหรือครึ่งปี แบบ ภ.ง.ด.94 และเสียภาษีปลายปี แบบ ภ.ง.ด.90
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีนิติบุคคล จะเรียกเก็บภาษีกับทางห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท ที่มีการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งลักษณะของการยื่นจะเป็นแบบเดียวกันกับบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ตามรอบระยะเวลาของบัญชีหรือ 1 ปี โดยมีการยื่นจ่ายภาษี 2 ครั้ง คือ กลางปี แบบ ภ.ง.ด. 51 และปลายปี แบบ ภ.ง.ด. 50

หากพูดถึงความแตกต่างในเรื่องของการเสียภาษี บุคคลธรรมดาจะมีอัตราภาษีสูงสุดที่ 35% และถ้าผลประกอบการขาดทุน ก็ยังคงต้องเสียภาษีตามปกติ ส่วนการเสียภาษีของนิติบุคคลอยู่ในอัตราสูงสุด 20% ถ้าธุรกิจขาดทุนจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีและสามารถนำส่วนขาดทุนไปหักกำไรปีต่อได้มากถึง 5 ปี

>> ดาวน์โหลดแบบ ภ.ง.ด.50 หรือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้ที่นี่ <<<

 

ใครเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล?

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

บุคคลที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัท ที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย ได้แก่ บริษัท จำกัด, บริษัทมหาชน จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน โดยการแสดงรายการหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • ภ.ง.ด. 50 : เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลรายปี จึงต้องยื่นทุกปีไม่ว่าจะมีรายได้หรือขาดทุน โดยมีช่วงเวลาในการยื่นภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี หรือภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป
  • ภ.ง.ด. 51 : คล้ายกับแบบ ภ.ง.ด. 50 ที่แสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่เป็นรอบของครึ่งปีหรือครึ่งรอบบัญชี (6 เดือน) โดยมีการยื่นแบบภายใน 2 เดือนนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบ 6 เดือน ให้กับทางกรมสรรพากร และค่อยคำนวณภาษีรายปี (ภ.ง.ด. 50) ส่งให้ตอนสิ้นปี

การยื่นแบบหรือแสดงรายการภาษี สามารถนำส่งได้ 2 ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานสรรพากร ‘พื้นที่ในกรุงเทพฯ‘ หรือ ‘พื้นที่ต่างจังหวัด‘ ถ้าหากใครไม่สะดวกต่อการเดินทาง ‘E-FILING‘ จะช่วยตอบโจทย์การใช้งานได้เป็นอย่างดี ทั้งยื่นแบบและชำระภาษีในรูปแบบของออนไลน์

 

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

การคำนวณในครั้งนี้จะเป็นการหาภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบรายปีหรือตามรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.50) โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมี 2 แบบที่มักจะถูกนำไปใช้เป็นประจำ คือ

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไป หรือ ธุรกิจที่นอกเหนือจาก SME สำหรับธุรกิจทั่วไปที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นบริษัทมหาชน จะมีอัตราการเสียภาษีแบบเดียว คือ

  • ธุรกิจที่มีกำไรสุทธิตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป อัตราการชำระภาษีจะอยู่ที่ 20%

อัตราภาษีเงินได้ธุรกิจ SME สำหรับธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง จะมีวิธีการคิดอัตราภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้

  • กำไรสุทธิที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นทางภาษี
  • กำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท ต้องชำระภาษี 15%
  • กำไรสุทธิมากกว่า 3,000,000 บาท ขึ้นไป ต้องชำระภาษี 20%

วิธีการหาภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรบัญชี
  • นำกำไรทางบัญชีมาปรับปรุงรายการให้กลายเป็นกำไรทางภาษี
  • กำไรภาษี x อัตราภาษี = ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่าง บริษัท ก้าวดี ก้าวไป จำกัด มีรายได้ในรอบปี 30,000,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในบริษัท 22,000,000 บาท และมีรายการอื่นๆ ดังนี้

  1. ค่าใช้จ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่าย ( ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ) 200,000 บาท
  2. เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ทางภาษี 100,000 บาท

การคำนวณอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไป

  • กำไรทางบัญชี โดยเกิดจากการนำ (รายได้ – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด = กำไรทางบัญชี)
    30,000,000 – 22,000,000 = 8,000,000

 

  • กำไรทางภาษี (กำไรทางบัญชี + ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาลงบัญชีได้ = กำไรทางภาษี)
    8,000,000 + 200,000 + 100,000 = 8,300,000 บาท

 

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (กำไรสุทธิทางภาษี x อัตราภาษี = ภาษีเงินได้นิติบุคคล)
    8,300,000 x 20% = 1,660,000 บาท

*ตรวจสอบให้ดีว่ารายการไหนเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี และไม่เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี

 

สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะรู้แล้วว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีนิติบุคคล เป็นการเรียกเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนบริษัท ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท โดยมีการนำส่งแบบได้ 2 รอบ คือ ภ.ง.ด. 51 รอบครึ่งปี และ ภ.ง.ด. 50 รอบปีตามระยะเวลาบัญชี ซึ่งวิธีการเสียภาษีนิติบุคคลจะขึ้นอยู่กับอัตราภาษีเงินได้ของธุรกิจ โดยการคำนวณจะต้องระวังให้ดีในส่วนของปรับปรุงรายการจากกำไรทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษี

แต่ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ ที่ไม่เข้าใจในเรื่องของภาษีเท่าไหร่นัก และการทำบัญชีก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แนะนำให้ปรึกษา นรินทร์ทอง เพราะมีบริการที่สามารถช่วยดูแลคุณได้ครบวงจรทั้งการจดทะเบียนบริษัท, บัญชี และภาษี

 

อยากให้ภาษีเป็นเรื่องง่าย ต้องที่นรินทร์ทอง!

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตและมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า