การ ซื้อรถในนามบริษัท ดีจริงไหม เราจะพามาหาคำตอบ!

รถยนต์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการเดินทาง เจ้าของธุรกิจหรือกิจการก็มักจะมีรถเอาไว้ใช้ เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากรถได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งพนักงาน, เดินทางติดต่อธุรกิจ และใช้ในงานขนส่ง แต่สำหรับใครที่กำลังจะ ซื้อรถในนามบริษัท แต่ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ และมีการเสียภาษีอย่างไร วันนี้ นรินทร์ทอง ได้รวบรวมคำตอบไว้แล้ว ในบทความนี้!

 

ซื้อรถในนามบริษัท คืออะไร?

ซื้อรถในนามบริษัท

การซื้อรถในนามบริษัทหรือซื้อรถในนามนิติบุคคล ถือว่าเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์ ที่ซื้อรถเพื่อนำมาใช้ดำเนินธุรกิจหรือกิจการ และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องของทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการหักค่าเสื่อมราคา หรือนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างดี

ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้สำหรับซื้อรถในนามของนิติบุคคล แต่ละที่ก็อาจจะมีการขอเอกสารที่แตกต่างกันออกไป โดยเบื้องต้นมีดังนี้

  • หนังสือรับรองบริษัท จะเป็นเอกสารที่สามารถรับรองตัวตนของธุรกิจคุณได้จริง เพราะเอกสารออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) หากคุณมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางกรมสรรพากร ต้องใช้เพื่อยืนยันทางด้านธุรกรรม
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ต้องสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ในเรื่องของข้อกำหนด เพราะบางที่จะมีการขอรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน
  • เอกสารทางด้านการเงิน เป็นเอกสารที่ช่วยยืนยันงบการเงินของบริษัทคุณ ในกรณีที่คุณไม่ได้ซื้อรถด้วยเงินสดหรือเงินก้อน โดยต้องมีการย้อนหลังอย่างต่ำ 6 เดือน

ในส่วนของเอกสารที่ได้กล่าวไปจะไม่ได้เป็นแบบซื้อสด แต่จะเหมาะกับการซื้อในรูปแบบของการผ่อน ถึงแม้ว่าการซื้อสดจะได้ในราคาที่ถูก เพราะไม่ต้องกังวลกับดอกเบี้ย แต่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อน ถ้าซื้อผ่อนแบบบอลลูนก็เหมือนกับการเช่าซื้อ เพราะคุณจะต้องมีจำนวนเงินดาวน์ก่อนตอนแรก หลังจากนั้นก็ผ่อนตามระยะเวลาที่ได้มีการตกลง และเมื่อถึงงวดสุดท้ายจะจ่ายเป็นเงินก้อน, ผ่อนต่อจนหมด หรือเทิร์นรถก็ได้ โดยทำให้คุณได้รับประโยชน์ทางด้านภาษีมากกว่า

 

ประเภทของรถยนต์ที่นำมาใช้ในกิจการ

ซื้อรถในนามบริษัท

จริงอยู่ที่การซื้อรถในนามของบริษัท ทำให้คุณสามารถจัดการในเรื่องของภาษีได้ แต่จะมีข้อจำกัดตามประเภทของรถยนต์ ที่ส่งผลกระทบต่อภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกฎหมายตามพิกัดอัตราภาษีของสรรพสามิต ได้ระบุเอาไว้ว่า

  • รถยนต์นั่ง เป็นรถยนต์ทั่วไปหรือรถเก๋ง ที่เอาไว้ใช้นั่งกันตามปกติ โดยหลังคาจะติดเป็นแผ่นเดียวกัน และไม่ว่าจะเป็นด้านข้างหรือด้านหลังของคนขับ ก็จะมีที่นั่ง, ประตู และหน้าต่าง
  • รถมอเตอร์ไซค์ หรือจักรยานยนต์ เป็นพาหนะที่ใช้ 2 ล้อในการขับเคลื่อน ถ้านำรถมาใช้ในกิจการ ทางบริษัทต้องมีชื่อเป็นเจ้าของรถ เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นรถของกิจการ โดยสามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้
  • รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 10 คน จะเป็นพวกรถทั่วไปที่เราเห็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง, รถมินิแวน และรถ SUV เป็นต้น ทางสรรพากรจะมองว่ารถเก๋งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
  • รถยนต์ที่นั่งเกิน 10 คน เรียกได้ว่าเป็นรถยนต์ที่เอาไว้ใช้ สำหรับดำเนินธุรกิจโดยตรง เช่น รถกระบะ, รถตู้ และรถบรรทุก ซึ่งรถกระบะในตอนนี้รวมทั้ง 2 ประตู – 4 ประตู

 

สามารถลงรายจ่ายและภาษีอย่างไรได้บ้าง?

หากผู้ประกอบการกำลังตัดสินใจที่จะซื้อรถในนามบริษัท และได้ทำความเข้าใจแล้วว่ารถยนต์ที่ซื้ออยู่ในประเภทไหน ระหว่างรถที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์ที่มีที่นั่งมากกว่า 10 คน จะสามารถลงรายจ่ายและภาษีได้ ดังนี้

  • ค่าใช้จ่าย ถ้าเป็นรถนั่งหรือรถโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เวลาที่ทำการลงรายจ่ายแบบเช่าจะลงได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 36,000 บาทต่อเดือน และถ้าซื้อเกิน 1 ล้านบาท ต้องนำมาคำนวณกับภาษีนิติบุคคล เพราะไม่สามารถลงบันทึกในรายการค่าใช้จ่ายส่วนเกินได้ ส่วนรถยนต์ที่ใช้ดำเนินกิจการหรือมีที่นั่งเกิน 10 คน จะสามารถนำทั้งเช่าหรือซื้อมาลงรายจ่ายได้เต็มจำนวน
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่ธุรกิจของคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเลือกซื้อรถที่อยู่ในเกณฑ์อย่าง รถจักรยานยนต์, รถกระบะ, รถบรรทุก หรือรถที่มีที่นั่งเกิน 10 คน จะสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านการเงินในเรื่องของภาษีได้ นั่นก็คือ นำมาใช้เป็นภาษีซื้อ แต่จะมีบางรายการที่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม อย่าง เช่า-ซื้อรถยนต์นั่ง, ค่าน้ำมันรถยนต์นั่ง (รถเก๋ง), น้ำมันเบนซิน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถ แต่สามารถนำมาลงค่าใช้จ่ายได้
  • ค่าเสื่อมราคา รถยนต์ที่ซื้อเพื่อนำมาใช้ในกิจการ จะสามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ตามกฎหมาย โดยหักได้ไม่เกิน 20% หรือ 200,000 บาทต่อปี ในมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท (ตาม พ.ร.ฎ ฉบับที่ 315 ปี 2540 และ พ.ร.ฎ ฉบับที่ 145 ปี 2527) ซึ่งต้องมีการแบ่งจ่ายมากกว่า 5 ปีขึ้นไป

 

ควรซื้อรถในนามบุคคลหรือบริษัทดี?

การซื้อรถในนามบุคคล

  • เป็นรถที่เอาไว้ใช้ส่วนตัว ทำให้มีค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ถูกกว่าบริษัท เช่น ค่าเบี้ยประกัน และค่าภาษีรถยนต์
  • ตอนที่ขายรถยนต์ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • เรื่องของการนำไปใช้ จะมีอิสระมากกว่า สามารถใช้รถตอนไหนก็ได้
  • แต่จะไม่สามารถนำมาหักค่าเสื่อมราคา และการลงค่าใช้จ่ายของกิจการหรือค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

การซื้อรถในนามบริษัท

  • ต้องเป็นรถที่เอาไว้ใช้สำหรับดำเนินกิจการจริงๆ ไม่ควรนำไปใช้แบบส่วนตัว
  • ทางด้านการเงินจะสามารถนำรถไปหักค่าเสื่อมราคาได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
  • สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องที่เกี่ยวกับรถได้ เช่น ค่าน้ำมัน, ค่าซ่อม และค่าเบี้ยประกันเป็นต้น
  • หากต้องการขายรถของบริษัทสามารถทำได้ แต่เงินที่ได้รับมาจะถูกจัดว่าเป็นรายได้ของกิจการ
  • ถ้าบริษัทของคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมด้วย ต้องทำการยื่นภาษีขายให้กับทางกรมสรรพากร

 

หากใครที่กำลังอยู่ในช่วงของการตัดสินใจ อยากจะซื้อรถมาใช้กับกิจการ แต่ไม่รู้ว่าควรซื้อในนามของบุคคลหรือบริษัทดี หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ ก็คงรู้แล้วว่าถ้าเป็นรถที่เอาไว้ใช้กับกิจการก็ควรซื้อรถในนามบริษัท เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการเงิน ที่ช่วยคิดคำนวณในเรื่องของภาษีได้ลดลง

แต่สำหรับใครที่ยังคงมีคำถามอื่นๆ นอกเหนือจากบทความนี้ สามารถติดต่อได้ที่ นรินทร์ทอง เพราะเราสามารถช่วยจัดการกับความยุ่งยากของบัญชีและภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ภาษีไม่ใช่เรื่องยาก นรินทร์ทอง ช่วยคุณได้!

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า