ใครที่ต้องยื่นภาษีต้องรู้จัก !! กับเงินได้พึงประเมินสำหรับหน้าการยื่นภาษี หลายๆคนก็ต้องนำมาคำนวณหารายได้สุทธิเพื่อที่จะคำนวณภาษีที่ต้องชำระ เอ๊ะแล้ว เงินได้พึงประเมิน คือ ? มีกี่ประเภท? เกี่ยวข้องยังไงกับการคำนวณ วันนี้เราพาผู้เสียภาษีมือใหม่ ทุกๆ ท่านมาหาคำตอบกันค่ะ
เงินได้พึงประเมิน คือ ?
เงินได้พึงประเมิน คือ รูปแบบการแบ่งรายได้เนื่องจาก เงินได้จากการประกอบอาชีพที่ต่างกัน ความยากง่ายต่างกัน ต้นทุนในการประกอบอาชีพก็ไม่เหมือนกัน บางคนมีหลายอาชีพ มีหลายธุรกิจ ดังนั้นจึงมีการออกกฎหมายเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในแต่ละอาชีพนั้นเอง
ประเภทของเงินได้
ทางกฏหมายตาม ประมวลกฎหมายรัษฎากร จะ ถูกแบ่งไว้ 8 ประเภท ด้วยกันค่ะ
-
- เงินได้ ประเภทที่ 1 คือ เงินได้จากการจ้างแรงงาน อย่าง เงินเดือน โบนัส หรือถ้าใครทำงานในองค์กรณ์นั้นๆ เป็นเวลานาน ก็อาจจะมีบำเน็จ บำนาญ และ สวัสดิการต่างๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง
- เงินได้ ประเภทที่ 2 คือ เงินสวัสดิการที่ได้รับจากตำแหน่ง หรือ รับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า บำเหน็จ โบนัส และ เงิน ทรัพย์สินที่เราได้ประโยชน์ในตำแหน่งนั้นๆที่สามารถตีเป็นมูลค่าได้ เช่นเรามีตำแหน่งเป็น ผู้จัดการธนาคาร บริษัทมีสวัสดิการออกเงินค่าเช่าบ้านให้ในตำแหน่งดังกล่าว ก็จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 นั้นเองค่ะ
- เงินได้ ประเภทที่ 3 คือ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือ ทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายทางการค้า งานเขียน บทเพลง และ เงินได้จากนิติกรรม พินัยกรรม และคำสั่งจากศาล อีกด้วยน้า
- เงินได้ ประเภทที่ 4 คือ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินแบ่งกำไร เช่น พันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ เงินปันผล ตั๋วเงิน ผลประโยชน์จากการโอนหุ้น ใครที่เป็นนักลงทุนต้องรู้จักประเภทนี้ให้ดีนะคะ
-
- เงินได้ ประเภทที่ 5 คือ ประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สิน สำหรับประเภทนี้จะเป็นที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในรูปแบบของการเช่า การยกเลิกสัญญา และ การผิดสัญญาซื้อขาย ก็ตามก็จะอยู่ในประเภทนี้
- เงินได้ ประเภทที่ 6 คือ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย เช่น อาชีพบัญชี กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ประณีตศิลปกรรม และ การประกอบโรคศิลปะ ใครทำอาชีพอิสระต้องจำไว้ให้ดีนะ
- เงินได้ ประเภทที่ 7 คือ เงินได้จากการรับเหมา ซึ่งเงินได้ประเภทนี้จะรวมทั้งค่าแรงงานของพี่ๆรับเหมา และ ค่าอุปกรณ์ แต่ถ้าพี่ๆรับเหมาทำงานเพียงอย่างเดียวไม่รวบอุปกรณ์ก็จะไม่ถือว่าเป็นประเภทที่ 7 นะคะ
- สำหรับเงินได้ ประเภทที่ 8 คือ อื่นๆ จะเป็นเงินได้ประเภทสุดท้ายที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ใน ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 ข้างต้น
เงินได้กับการคำนวณภาษี
แล้วเงินได้เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีอย่างไร ในการคำนวณเพื่อภาษีสิ่งที่เราจำเป็นก็คือการหาเงินได้สุทธิ หรือ เงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายแล้วเพื่อคำนวณภาษี ซึ่งประเภทของเงินได้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่เราต้องนำมาคิดเพื่อที่ทราบจำนวนที่เราสามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักได้ตามประเภทของเงินได้ ที่กฏหมายกำหนดไว้
คู่มือสำหรับนักยื่นภาษีมือใหม่
ขั้นตอนที่ 1 ให้เราเริ่มแยกประเภทของรายได้ก่อนรายได้เราอยู่ประเภทไหน!! พอเราได้
ขั้นตอนที่ 2 ให้เราไปว่าในรายได้ประเภทนั้นสามารถหักค่าใช้จ่ายตามกฏหมายได้เท่าไรจากเว็บ กรมสรรพกร ได้โดยตรง
ขั้นตอนที่ 3 ให้เรามาคำนวณในรายได้หมวดนั้นๆเพื่อหาเงินสุทธิและนำไปคิดจำนวนภาษีจริงๆที่ต้องชำระต่อไปนั้นเองคะ
เช่น นายสกาย มีรายได้จากการทำงานประจำ 400,000 บาทต่อปี ซึ่งจะอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 2 ตามที่กฏหมายระบุ เราสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 50% โดยหักได้ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีของนายสกาย 50% ของรายได้จะอยู่ที่ 200,000 บาท แต่ตามกฏหมายสามารถหักค่าใช้ได้ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้นสำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ดังนั้นในกรณีเราจะหักค่าใช้จ่ายได้ที่ 100,000 บาทนั้นเอง
เพราะการเติบโตในธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ
สำหรับใครที่สนใจจะจดทะเบียนบริษัท การยื่นภาษีอากร บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และ ภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน เราให้บริการมากกว่า 20 ปี สำหรับ
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา นรินทร์ทอง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339