การบริหารเงิน นับว่าเป็นหนึ่งปัญหาที่ผู้ประกอบการมักจะต้องเจอ เพราะการทำกิจการส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการตลาด จุดแข็ง-จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ และการให้บริการมากกว่า จึงไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องการเงินเท่าที่ควร แต่อันที่จริงแล้วการบริหารเงิน เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด ดังนั้นถ้าไม่อยากให้กิจการของคุณเกิดปัญหาในภายหลัง ควรจัดทำงบการเงินสำหรับกิจการ เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนการบริหารเงินภายในบริษัท และเป็นหลักฐานวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ของการบริหารงานภายในบริษัทได้อีกด้วย แต่สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ยังคงสงสัยว่า งบการเงินคืออะไร ? และ งบการเงินมีอะไรบ้าง ?
ในบทความนี้ ทาง นรินทร์ทอง จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ “งบการเงิน” มาให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกันแบบละเอียด พร้อมแนะนำวิธีการจัดทำงบการเงินที่ดี ด้วย นักบัญชี ที่เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี เพื่อเป็นแนวทางให้กับเจ้าของกิจการ ได้บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงในการทำกิจการให้ดียิ่งขึ้นด้วย
การทำ งบการเงินมีกี่ประเภท
- งบการเงินคืออะไร
งบการเงิน (Financial Statement) คือ รายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงถึงสถานะในการดำเนินงานอย่างมีแบบแผน และแสดงผลประกอบการของบริษัท สำหรับระยะเวลาแต่ละรอบบัญชี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการตัดสินใจ สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ รวมถึงนักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร โดยงบการเงินจะประกอบไปด้วย 4 งบหลัก ดังนี้
1. งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)
เป็นงบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น โดยองค์ประกอบเหล่านี้สามารถทำให้เห็นภาพรวมของกิจการว่า มีประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ ของกิจการได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้สิน โดยงบนี้จะมีหน้าที่บอกสถานะทางการเงิน ของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง
2. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงผลประกอบการ ความสามารถในการทำกำไร รวมทั้งโครงสร้างรายได้ และค่าใช้จ่ายของกิจการว่าเป็นอย่างไร ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (โดยปกติทุกๆ 1 ปีตามรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการ) โดยกิจการสามารถใช้งบนี้ เพื่อให้ผู้บริหารกิจการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ และวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินกิจการต่อไปในอนาคต
3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (Statement of Changes Equity)
เป็นงบที่แสดงให้เห็นยอดเงินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ต้นปีไปจนถึงปลายปีนั้นๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอะไรบ้าง เช่น ทุนที่ชำระแล้วของบริษัทเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุน หรือลดลงจากการลดทุน กำไรสะสมของกิจการเพิ่มขึ้นด้วยกำไรสุทธิ หรือลดลงด้วยการจ่ายเงินปันผล ซึ่งงบนี้จะทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สามารถเตรียมพร้อมตั้งรับความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้
4. งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement)
เป็นงบที่ทำให้เห็นที่มาที่ไปของกระแสเงินสด ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากรายการใดบ้าง ซึ่งหลักๆ จะมาจาก 3 กิจกรรม ได้แก่
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities)
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (Investing Activities)
- กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา (Financing Activities)
การจัดทำงบกระแสเงินสดในกิจการ จะช่วยให้เจ้าของกิจการวางแผนการใช้เงินได้ดีมากขึ้น และทำให้ทราบถึงสภาพคล่องในการดำเนินงาน เพื่อนำไปวางแผนการใช้จ่ายของกิจการได้ แต่ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน ไม่ได้กำหนดให้จัดทำงบกระแสเงินสด แต่กำหนดให้จัดทำสำหรับบริษัทมหาชนเท่านั้น
- วัตถุประสงค์ของงบการเงิน
การจัดทำงบการเงินในธุรกิจ มีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ โดยผู้ใช้งบการเงินสามารถนำข้อมูลดังกล่าว ไปตัดสินใจในเชิงเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ผู้ใช้งบการเงินยังสามารถ ทราบผลการดำเนินงานของกิจการจากงบกำไร-ขาดทุน ส่วนงบกระแสเงินสด จะเป็นงบการเงินที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของฐานะการเงินในระหว่างงวดบัญชี
- ประโยชน์ของการทำ งบการเงินมีอะไรบ้าง
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำงบการเงินในธุรกิจ แต่ละองค์ประกอบจะมีประโยชน์แตกต่างกันดังต่อไปนี้
1. งบแสดงฐานะการเงิน – แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของธุรกิจ ฐานะการเงิน สภาพคล่องของกิจการ ความสามารถในการชำระหนี้ และประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ของกิจการ
2. งบกำไรขาดทุน – แสดงผลประกอบการ ความสามารถในการทำกำไร รวมทั้งโครงสร้างรายได้ และค่าใช้จ่ายของกิจการ
3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น – ในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงมูลค่าของกิจการ ในการประเมินมูลค่าหุ้นของกิจการ มีตัวชี้วัดที่เรียกว่า มูลค่าตามบัญชี (Book Value) โดยคำนวณจากสินทรัพย์สุทธิ หรือส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งเท่ากับสินทรัพย์รวมหักด้วยหนี้สินรวม และยังแสดงการเคลื่อนไหวของทุน เช่น การเพิ่มทุน และการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น
4. งบกระแสเงินสด – การจัดทำงบกระแสเงินสด จะช่วยผู้ประกอบการในการวางแผนการใช้เงิน ทำให้ทราบถึงสภาพคล่องในการดำเนินงาน และสามารถนำไปใช้วางแผนการใช้จ่ายของกิจการได้ โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำตามรูปแบบ ที่เป็นทางการเหมือนบริษัทมหาชน
อยากจัดทำ งบการเงิน พร้อมที่ปรึกษาส่วนตัวด้านบัญชี นรินทร์ทอง พร้อมให้บริการ
หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ การจัดทำงบการเงิน กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่า การจัดทำงบการเงินของกิจการ ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญประเภทหนึ่ง ที่จะช่วยวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของกิจการ และทำให้เจ้าของกิจการสามารถมองเห็น ถึงความผิดปกติในธุรกิจของตนเองได้ ซึ่งการจัดทำงบการเงินเหล่านี้ แน่นอนว่าต้องอาศัยความละเอียดอย่างมาก ดังนั้นหากผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมองหา บริษัทรับทำบัญชี จัดทำงบการเงิน ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี ทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตและมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339