เปลี่ยนที่อยู่บริษัท ต้องทำอย่างไร เรามีคำตอบ!

ผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนบริษัท และได้ดำเนินธุรกิจมาถึงจุดที่กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ต้องย้ายสถานที่ เพื่อตอบโจทย์กับการทำงานของธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการย้ายสถานที่ตั้งของบริษัท จะต้องแจ้งกับสำนักงานที่เกี่ยวข้องในการ เปลี่ยนที่อยู่บริษัท ร่วมด้วย จะได้เป็นการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย

หากใครต้องการเปลี่ยนที่อยู่ของบริษัท ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ ควรรู้รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่แบบเบื้องต้นก่อน วันนี้ นรินทร์ทอง จะมาช่วยคุณเปลี่ยนที่อยู่บริษัท โดยเริ่มจากการเตรียมตัว, ขั้นตอนการดำเนิน และมีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้กันเลย!

 

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนการ เปลี่ยนที่อยู่บริษัท

เปลี่ยนที่อยู่บริษัท

ในธุรกิจที่มีการจดทะเบียนบริษัท ต้องมีการดำเนินเรื่องของเอกสารตามขั้นตอนของระบบ ซึ่งมีการระบุถึงสถานที่ตั้งที่ใช้ในการจดทะเบียน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลของบริษัท จึงเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลักทั้งหมด 3 หน่วยงาน ที่คุณต้องไปติดต่อทำเรื่องเปลี่ยนที่อยู่บริษัท คือ

  1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียน และมีการบันทึกข้อมูลของธุรกิจคุณเอาไว้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าบริษัทของคุณได้เปิดถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นที่แรกที่คุณควรแจ้งเปลี่ยนที่อยู่
  2. กรมสรรพากร การแจ้งเปลี่ยนที่อยู่กับทางกรมสรรพากรจะต้องทำก็ต่อเมื่อ บริษัทของคุณมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จากกิจการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  3. สำนักงานประกันสังคม หากบริษัทของคุณมีการขึ้นทะเบียนกับทางสำนักงานประกันสังคม เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับพนักงานที่ได้รับสิทธิประโยชน์ ต้องดำเนินเรื่องเปลี่ยนที่อยู่บริษัทให้เป็นปัจจุบัน

 

ขั้นตอนการ เปลี่ยนที่อยู่บริษัท ต้องทำอย่างไร?

1 – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ขั้นตอนการเปลี่ยนที่อยู่บริษัท

การแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ของบริษัทกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ และมีวิธีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน คือ ‘เปลี่ยนที่อยู่บริษัทในจังหวัดเดิม’ และ ‘เปลี่ยนที่อยู่บริษัทไปจังหวัดอื่น’

เปลี่ยนที่อยู่บริษัทในจังหวัดเดิม

หากเป็นการยื่นคำขอเปลี่ยนที่อยู่บริษัทในจังหวัดเดิม จะไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีเพียงข้อมูลของที่ตั้งแห่งใหม่ที่ต้องใช้ หลังจากนั้นให้จัดเตรียมเอกสารและยื่นขอจดทะเบียนให้กับนายทะเบียนก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ซึ่งเอกสารที่คุณจะต้องใช้ ได้แก่

  1. แบบ บอจ. 1 : คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. แบบ บอจ.4 : รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ
  4. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
  5. สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (ในกรณีที่เป็นผู้เช่า)
  6. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  8. หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่ไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง และต้องมีการผนึกอากรแสตมป์)

 

เปลี่ยนที่อยู่บริษัทไปจังหวัดอื่น

การเปลี่ยนที่อยู่บริษัทไปจังหวัดอื่น จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมในหนังสือบริคณห์สนธิ ในข้อที่ 2 (สำนักงานของบริษัท) จึงต้องมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นในมติพิเศษ โดยขั้นตอนที่คุณจะต้องทำ คือ

  • ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์หรือส่งมอบโดยตรง และต้องทำการแจ้งก่อนวันที่ประชุมไม่ต่ำกว่า 14 วัน หรือตามข้อบังคับของบริษัทที่กำหนดเอาไว้
  • ในวันที่จัดประชุมผู้ถือหุ้น ต้องมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่า 2 คน และถ้ารวมจำนวนหุ้นกันแล้ว ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ของทุน โดยในที่ประชุมจะมีมติพิเศษคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นที่มาประชุม
  • หลังจากวันที่ประชุมเสร็จ ให้จัดทำคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ในข้อที่ 2 และยื่นให้กับนายทะเบียน

เอกสารที่ใช้ในการเปลี่ยนที่อยู่บริษัทไปจังหวัดอื่น

  1. แบบ บอจ. 1 : คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. แบบ บอจ.4 : รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ
  4. หนังสือบริคณห์สนธิ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) 1 ฉบับ พร้อมกับชำระค่าอากรแสตมป์
  5. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
  6. สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (ในกรณีที่เป็นผู้เช่า)
  7. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  9. หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่ไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง และต้องมีการผนึกอากรแสตมป์)

 

สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ไหน?

  • ที่สำนักงาน ภายในกรุงเทพฯ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 เขต แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัด ให้ยื่นที่สำนักงานพาณิชย์
  • ทางออนไลน์ เป็นการยื่นขอจดทะเบียนในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) 

>>> คลิกเพื่อดู เอกสารที่ใช้ยื่นกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ที่นี่<<<

2 – กรมสรรพากร

ขั้นตอนการเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกรมสรรพากร

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องดำเนินเรื่องยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แบบ ภ.พ.09 ให้กับทางกรมสรรพากร ซึ่งคุณจะต้องทำการแจ้งย้ายออกจากพื้นที่เดิม และแจ้งย้ายเข้าสู่พื้นที่ใหม่ ภายในระยะเวลา 15 วันก่อนที่จะย้าย โดยมีเอกสารที่คุณจะต้องเตรียมทั้งหมด ดังนี้

  1. แบบคำขอแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ภ.พ.09 จำนวน 3 ฉบับ
  2. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 (ฉบับเก่า)
  3. สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (ในกรณีที่เป็นผู้เช่า)
  4. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ (ใหม่)
  5. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการ พร้อมกับภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่
  6. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  7. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ที่ไม่เกิน 6 เดือน
  8. หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมกับปิดอากรแสตมป์

สามารถยื่นคำขอได้ที่ไหน?

  • ในกรุงเทพฯ ยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  • นอกเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่

>>> คลิกเพื่อดู คำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) ได้ที่นี่<<<

 

3 – สำนักงานประกันสังคม

ขั้นตอนการเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกรมสำนักงานประกันสังคม

ทางบริษัทที่มีการขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคม จะต้องดำเนินเรื่องแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ที่สำนักงานด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถทำได้ภายในวันที่ 15 ในเดือนถัดไป หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการเปลี่ยนที่อยู่ คือ

  1. แบบ สปส.6-15 : แบบแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง
  2. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ฉบับใหม่)
  3. แผนที่ตั้งของสำนักงาน (ฉบับใหม่)
  4. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมกับแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบ – รับอำนาจ และต้องปิดอากรแสตมป์ (กรณีที่ไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง)

สามารถยื่นคำขอได้ที่ไหน?

  • สำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพฯ พื้นที่ 1 – 12 หรือ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา

>>> คลิกเพื่อดู แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส.6-15) ได้ที่นี่<<<

 

การเปลี่ยนที่อยู่ของบริษัทนอกจากจะเป็นการย้ายสถานที่การทำงานแล้ว ต้องมีการดำเนินเรื่องของเอกสารตามขั้นตอน โดยมีหน่วยงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม ที่คุณจะต้องทำการยื่นคำขอตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้

หากการทำงานทางด้านเอกสาร เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและการดำเนินงานล่าช้า สำนักงานบัญชีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ทำให้เรื่องของเอกสารและงบการเงินเป็นสิ่งที่ง่ายมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ติดต่อที่ นรินทร์ทอง !

 

เปลี่ยนที่อยู่ของบริษัท ต้องที่ นรินทร์ทอง!

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…

Facebook : NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com

Line : @Narinthong

Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ และคุกกี้ในส่วนการตลาด

    คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน และคุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บันทึกการตั้งค่า