ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนบริษัท หากถึงวันที่กิจการต้องปิดตัวลงหรือเลิกบริษัท ไม่ว่าจะเกิดจากการที่บริษัทล้มละลาย, ผู้ถือหุ้นมีมิติพิเศษให้เลิก, คำสั่งศาลให้เลิก และบริษัทขาดทุน เป็นต้น ควรทำตาม ขั้นตอนการจดเลิกบริษัท เพื่อให้เกิดสถานะของการปิดกิจการที่สมบูรณ์
สำหรับใครที่ดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทเรียบร้อยแล้ว แต่ยังคงมีการเรียกเก็บเงินจากกรมสรรพากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทาง นรินทร์ทอง ขอแนะนำขั้นตอนการจดเลิกที่คุณไม่ควรพลาด เพื่อช่วยให้การปิดกิจการผ่านไปได้อย่างราบรื่น และไม่มีปัญหาที่จะมากวนใจในภายหลัง
เหตุผลของการเลิกบริษัทหรือธุรกิจปิดตัวลง
หลายคนอาจมองว่าการที่ธุรกิจปิดตัวลง มาจากการที่ขาดทุนแล้วทำให้บริษัทเจ๊ง แต่ความจริงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยมีเหตุผลที่ทำให้ต้องเลิกบริษัท ดังนี้
- เลิกบริษัทตามกฎหมาย เรียกได้ว่าเป็นข้อบังคับที่มีการกำหนดเอาไว้แล้ว ซึ่งอาจเป็นการกำหนดระยะเวลา เมื่อถึงวันที่สิ้นสุดก็ต้องเลิกไป หรือดำเนินกิจการนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว และถ้าบริษัทล้มละลายก็จะมีผลตามกฎหมายให้เลิกด้วยเช่นกัน
- เลิกตามมติของผู้ถือหุ้น ในกรณีที่มีการจัดประชุมใหญ่สำหรับผู้ถือหุ้น และได้มีการลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
- เลิกโดยคำสั่งศาล จะเป็นการเลิกบริษัทที่มาจากคำสั่งของศาล หากคุณทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท, จดบริษัทแต่ไม่ประกอบการภายใน 1 ปี, ธุรกิจที่เกิดการขาดทุน ไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นคืน และจำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน
ขั้นตอนการจดเลิกบริษัท มีอะไรบ้าง?
จดทะเบียนเลิกบริษัท
การที่คุณจะจดทะเบียนเลิกบริษัท และเกิดขึ้นตามความต้องการของผู้ถือหุ้นโดยตรง จะมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย โดยเริ่มจากการจัดประชุมผู้ถือหุ้นก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อทำการลงมติเลิกกิจการ หลังจากนั้นคุณจะสามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น การออกหนังสือประชุมผู้ถือหุ้น ถือว่าเป็นมติพิเศษที่ต้องการเลิกบริษัท โดยต้องมีการออกหนังสือมากกว่า 14 วัน และประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง พร้อมกับส่งหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ให้กับผู้ถือหุ้น
- จัดประชุมผู้ถือหุ้น ในที่ประชุมจะมีมติคะแนนเสียงข้างมาก โดยจะต้องไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม และที่สำคัญต้องมีการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีร่วมด้วย
- ยื่นคำขอจดทะเบียน การยื่นคำขอจดทะเบียนสามารถยื่นได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และจะต้องทำภายใน 14 วัน หลังจากวันที่มีมติ โดยต้องมีการประกาศหนังสือพิมพ์ ส่งหนังสือบอกเจ้าหนี้ (ในกรณีที่มี) และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนเลิก
- แบบ ลช.1 : แบบคำขอจดทะเบียนเลิก
- แบบ ลช.2 : รายการจดทะเบียนเลิก
- สำเนาคำสั่งศาลให้เลิก (ในกรณีที่ต้องมีการเลิกบริษัทตามคำสั่งศาล)
- สำเนารายการงานประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น (ในกรณีที่ผู้ชำระบัญชีไม่ใช่กรรมการทุกคน)
- แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี
- สำเนาใบมรณะบัตร (ในกรณีที่กรรมการถึงแก่กรรม)
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน
- สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ
- หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่ผู้ขอจดไม่สามารถนำไปยื่นด้วยตัวเอง)
จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
การจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเปรียบเหมือนกับการทำงบเลิกกิจการ ถึงแม้ว่าคุณจะดำเนินการขอจดทะเบียนเลิกบริษัทเรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าของธุรกิจต้องสำรวจสินทรัพย์และหนี้สินที่เหลือ เพื่อเป็นการชำระหรือเคลียร์บัญชีให้เรียบร้อย ซึ่งในระหว่างการชำระบัญชีจะมีขั้นตอน ดังนี้
- ดำเนินการทำงบการเงิน จะเป็นการทำงบ ณ วันที่เลิกบริษัท หรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก โดยต้องมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ และแสดงความเห็นว่าถูกต้อง
- นัดประชุมผู้ถือหุ้น เรียกได้ว่าเป็นการยืนยันผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก ซึ่งก่อนวันที่ประชุมจะต้องมีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่ไม่ต่ำกว่า 7 วัน และส่งเอกสารให้ทางไปรษณีย์ หรือส่งมอบให้กับผู้ถือหุ้น
- ในวันที่จัดประชุมผู้ถือหุ้น ต้องมีมติในการอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ พร้อมกับการอนุมัติการชำระบัญชี
- ทรัพย์สินและหนี้สิน ทางผู้ชำระบัญชีจะต้องดำเนินการสะสางหรือเคลียร์ทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท (ถ้ามีลูกหนี้ให้เรียกเก็บเงิน, ชำระหนี้ และจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชี) แต่ถ้ามีเงินคงเหลือให้ทำการคืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ หรือตามข้อบังคับที่กำหนดเอาไว้
- ออกหนังสือและทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้น การออกหนังสือในครั้งนี้ จัดทำเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี หากมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชีก็สามารถทำการยื่นได้
- ยื่นคำขอจดทะเบียน การยื่นคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีได้ที่ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะมีระยะเวลาในการยื่นภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่มีมติเสร็จการชำระบัญชี
ดำเนินการเรื่องภาษีให้เรียบร้อย
หลังจากที่คุณได้ดำเนินการจดทะเบียนเลิกกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว สิ่งต่อมาที่คุณจะต้องไม่ลืมเป็นเรื่องของภาษี เพราะมีบางคนที่ทำการจดทะเบียนเลิกแล้ว แต่ยังได้รับใบเรียกเก็บภาษีจากทางกรมสรรพากร จึงมีภาษีที่คุณจะต้องตรวจสอบก่อนปิดบริษัท คือ
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้คุณทำการนำส่งแบบ ภ.ง.ด.50 คู่กับงบการเงิน ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ ภายในระยะเวลา 150 วัน ตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเลิก
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะต้องมีการนำส่งแบบ ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หลังจากวันที่คุณจดทะเบียนเลิกได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการหัก ณ ที่จ่าย, ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี เป็นต้น
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลังจากที่คุณดำเนินการแจ้งเลิกกิจการกับทางกรมสรรพากรภายใน 15 วันแล้ว จะต้องนำส่งแบบ ภ.พ.30 ไปอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี”
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นการนำส่งแบบ ภธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือน สามารถทำได้ตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเลิก ในกรณีที่คุณมีบัญชีดอกเบี้ยค้างรับ หรือดอกเบี้ยในงบการเงิน
แจ้งทางประกันสังคม
หากคุณเป็นผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่บริษัทได้ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ทางนายจ้างจะต้องดำเนินเรื่องแจ้งจดทะเบียนเลิก โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ทำหนังสือแจ้งพนักงาน จะต้องบอกเลิกจ้างล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง และต้องทำการจ่ายค่าชดเชยในอัตราที่กฎหมายกำหนด (ตามอายุการทำงาน)
- แจ้งเลิกกิจการ ต้องนำส่งแบบ สปส.6-15 เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากนายจ้าง ถือว่าเป็นการช่วยยืนยันว่าทางผู้ประกอบการได้เลิกประกอบกิจการ และสามารถนำส่งได้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง
ทำไมถึงต้องจดทะเบียนเลิกให้ถูกต้องตามขั้นตอน?
โดยปกติแล้วการจดทะเบียนบริษัท จะมีขั้นตอนที่ต้องทำตามให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของคุณในอนาคต เช่นเดียวกันกับการจดทะเบียนเลิก ถ้าหากคุณทำตามขั้นตอนของการจดทะเบียนเลิกได้ถูกต้อง จะช่วยให้การเลิกกิจการอยู่ในสถานะที่สมบูรณ์ ไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะตามมา
สำหรับใครที่ต้องการจดทะเบียนเลิก แต่ยังคงติดปัญหาเกี่ยวกับเอกสาร และไม่มั่นใจว่าขั้นตอนที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นถูกต้องหรือไม่ สามารถติดต่อมาได้ที่ นรินทร์ทอง เพราะเราช่วยให้การทำงานทางด้านบัญชี, ภาษี และการจดทะเบียนเป็นเรื่องง่าย!
อยากจดเลิกบริษัท ต้องที่ นรินทร์ทอง!
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี, ภาษี และการจดทะเบียนนิติบุคคล ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี จึงทำให้นอกจากการจดทะเบียนบริษัท ยังมีบริการจดทะเบียนเลิกบริษัทร่วมอีกด้วย เพื่อเป็นการช่วยให้คุณหมดปัญหากับความยุ่งยากในการดำเนินงาน ทำให้มั่นใจได้เลยว่าธุรกิจของคุณได้ปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์
สำหรับใครที่สนใจใช้บริการอื่นๆ นอกจากการจดทะเบียนเลิกบริษัท ทางเรายังมีบริการที่ให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339